5 สัญญาณเตือน ว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีปัญหา
5 สัญญาณเตือน ว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีปัญหา
หลายคนพอจะทราบแล้วว่า ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD: Hard Disk Drive) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบแม่เหล็กที่ใช้ในการเก็บข้อมูลดิจิทัล ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก การทำงานของฮาร์ดดิสก์อาศัยหลักการแม่เหล็กซึ่งใช้แผ่นดิสก์โลหะหรือแก้วเคลือบสารแม่เหล็กที่หมุนด้วยความเร็วสูงเพื่อบันทึกและอ่านข้อมูล แล้วเราจะสังเกตยังไงว่าฮาร์ดดิสก์กำลังมีปัญหาอยู่หรือเปล่า เราไปรู้จักกับ 5 สัญญาณเตือนกันเลย
- เกิดเสียงดังผิดปกติ
อาการนี้สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งบ่งบอกถึงปัญหาที่อาจนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงของอุปกรณ์ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์มีเสียงดังผิดปกติคือ
– ชิ้นส่วนกลไกชำรุด: หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการชำรุดของชิ้นส่วนกลไกภายในฮาร์ดดิสก์ หากมีการสึกหรอหรือชำรุด อาจทำให้เกิดเสียงดังเช่นเสียงแกร่กๆ หรือเสียงกระทบกระแทก
– หัวอ่าน/เขียนชำรุด: หัวอ่าน/เขียนอาจเกิดการชนกระแทกกับพื้นผิวของแผ่นดิสก์ได้ ถ้าหัวอ่าน/เขียนหลุดจากตำแหน่งปกติหรือชำรุด มักจะทำให้เกิดเสียงคลิกๆหรือเสียงดังก้องภายในเครื่อง
– อาการติดขัดของมอเตอร์หรือแกนหมุน: ถ้ามอเตอร์หรือแกนหมุนที่ควบคุมการหมุนของแผ่นดิสก์มีปัญหา อาจทำให้เกิดเสียงผิดปกติเช่นเสียงดังหรือเสียงสั่น
- การเข้าถึงข้อมูลช้าลงอย่างมาก
หากฮาร์ดดิสก์ใช้เวลานานผิดปกติในการโหลดข้อมูลหรือระบบการทำงาน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าฮาร์ดดิสก์กำลังจะล้มเหลว มีหลายสาเหตุ เช่น มีการใช้งานมานานหลายปีอาจมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากชิ้นส่วนภายในสึกหรอ ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลช้าลง หรือ การทำงานของแอปพลิเคชั่นหลายๆ ตัวพร้อมกันอาจใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์มากจนเกินไป ทำให้การเข้าถึงข้อมูลช้าลง ควรตรวจสอบและปิดโปรแกรมที่ไม่จำเป็น
- ไฟล์เสียหายหรือหาข้อมูลไม่เจอ
ขณะที่เรากำลังใช้งานอยู่แล้วไฟล์ข้อมูลต่างๆหายไป หาข้อมมูลไม่เจอเลย อาการนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฮาร์ดดิสก์ใกล้พัง สาเหตุอาจเกิดจาก
– การดับไฟฟ้ากะทันหันหรือการถอดฮาร์ดดิสก์ออกจากคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ถอนการใช้งานอย่างปลอดภัยอาจทำให้ระบบไฟล์เสียหาย
– การเสื่อมสภาพของสารแม่เหล็กอาจทำให้ข้อมูลเสียหายหรือไม่สามารถเข้าถึงได้
– การติดไวรัส ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายสามารถทำลายไฟล์หรือระบบไฟล์ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลหายหรือเสียหายได้
- ระบบบูต (Boot) ไม่ได้
การใช้ฮาร์ดดิสก์บ่อยครั้งบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอาจทำให้ฮาร์ดดิสก์ติดไวรัส ซึ่งทำให้ไม่สามารถบูตได้ อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการขีดข่วนฮาร์ดดิสก์ที่เก็บข้อมูลการบูตทำให้ไม่สามารถอ่านได้ และทำให้ไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าถึงได้
- เครื่องค้างบ่อย หน้าจอขึ้นสีฟ้า (Blue Screen Of Death)
หน้าจอฟ้า Blue Screen Of Death (BSOD) มีชื่อเรียกที่เป็นทางการว่า Stop Screen หรือ Stop Error โดยทั่วไปหน้าจอสีน้ำเงินมีสาเหตุมาจากปัญหาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์หรือปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์ บางครั้งอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระดับต่ำที่ทำงานในเคอร์เนล Windows หรือข้อผิดพลาดร้ายแรงของไดรเวอร์ แอพทั่วไปจะไม่ค่อยทำให้เกิดหน้าจอสีน้ำเงินได้ นอกจากแอปขัดข้อง แอปจะดำเนินการโดยไม่ต้องนำระบบการทำงานออกไปด้วย วิธีแก้ไขคือการย้อนกลับหรือถอนการติดตั้งไดรเวอร์ หรืออาจติดตั้งใหม่ เนื่องจากการติดตั้งครั้งแรกอาจเสียหายได้
ปัญหาของฮาร์ดดิสก์อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ดังนั้นคุณควรเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่เสมอ และสำหรับการสำรองข้อมูลตามปกตินี้ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด การสำรองข้อมูลเป็นประจำสามารถช่วยให้ลดการสูญหายของข้อมูลที่สำคัญได้ นอกจากนี้การถ่ายโอนข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์หนึ่งไปยังอีกฮาร์ดดิสก์หนึ่งไม่ได้ยุ่งยากมากนัก ดังนั้นการสำรองข้อมูลที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการกับปัญหาข้อมูลสูญหาย
หวังว่าบทความข้างต้น จะเป็นประโยชน์ในการสังเกตความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมในการดูแลฮาร์ดดิสก์ในขั้นตอนต่อไปค่ะ หากPCของคุณขัดข้องหรือแฮงค์บ่อยครั้ง ส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ของคุณอาจเสื่อมสภาพ วิธีการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นมีความน่าเชื่อถือและเป็นแค่แนวทางในการสังเกตเท่านั้น แต่วิธีที่ดีที่สุดคือปรึกษาจากบริษัทกู้คืนข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น CR Data Recovery ศูนย์กู้ข้อมูลอันดับ1
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร: 062-919-7966 , 093-093-5553
Line ID: @crecover